วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โซเดียมลอริลซัลเฟต, Sodium Lauryl Sulfate, โซเดียมลอเรตซัลเฟต, Sodium Laureth Sulfate SLS, N70


บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด ดำเนินธุรกิจ ผลิต นำเข้า ส่งออก และจำหน่าย 
โซเดียมลอริลซัลเฟต, Sodium Lauryl Sulfate, โซเดียมลอเรตซัลเฟต, Sodium Laureth Sulfate, SLS, N70
สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายขายและการตลาด บจก.ไทยโพลีเคมิคอล 
36/1 หมู่ที่ 9 ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
โทร 034496284, 034854888, 0861762992, 0824504888, 0868850111
อีเมลล์แอดเดรส, polychemicals888 (at) gmail (dot) com


Tag, Keyword, ชื่อเรียกอื่นๆ
Sodium Laureth Sulfate, โซเดียมลอเรตซัลเฟต, โซเดียมลอเรทซัลเฟท
Sodium Lauryl Sulfate, โซเดียมลอริลซัลเฟต, โซเดียมลอริลซัลเฟท 
SLS, เอสแอลเอส, N70, Texapon N70, Disponil FES70
SLES, เอสแอลอีเอส, N70T, Texapon N70T, Disponil FES70EG
Fatty Alcohol Ether Sulfate, หัวเชื้อสบู่, หัวเชื้อแชมพู, ผงฟอง, ฟองเส้น
Sodium Lauryl Ether Sulfate, โซเดียมลอริลอีเทอร์ซัลเฟต, โซเดียมลอริลอีเทอร์ซัลเฟท 
Surfactant, เซอร์แฟคแตนท์, สารลดแรงตึงผิว, Surface active agent, Amphiphile

สารลดแรงตึงผิว (surfactant) 
สารลดแรงตึงผิว (surfactant) หรือ Surface active agent, Amphiphile คือสารที่มีโมเลกุลหรือไอออนซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนหัวหรือส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) และส่วนหางหรือส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องสมดุลกันทำให้ถูกดูดซับที่พื้นผิวหรือระหว่างพื้นผิวของของเหลว ทำให้ความเข้มข้นที่พื้นผิวสูงกว่าความเข้มข้นภายในเนื้อของของเหลวและแรงตึงผิวลดลง
ประเภทของสารลดแรงตึงผิว
สารลดแรงตึงผิวทุกชนิดมีโครงสร้างคล้ายๆ กัน คือ ส่วนหาง (ไม่ชอบน้ำ)และส่วนหัว (ชอบน้ำ) อย่างไรก็ตาม สารลดแรงตึงผิวทุกตัวมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน แต่ละชนิดกลับมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างของส่วนหัวที่ชอบน้ำ (hydrophilic head) เมื่อสารลดแรงตึงผิวแตกตัวเป็นไอออน (สารที่มีประจุไฟฟ้า)
ตัวอย่างของสารลดแรงตึงผิวชนิดต่าง ดังนี้
1.สารลดแรงตึงผิวประจุลบ( Anionic Surfactant)
สารนี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะแตกตัวและส่วนหัวจะมีประจุเป็นลบ สารจำพวกนี้นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น แชมพู ครีมอาบน้ำ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติ ในการทำความสะอาดดี มีฟองมาก และละลายน้ำได้ดี ตัวอย่างเช่น
Sodium Lauryl Ether Sulphate
Ammonium Lauryl Ether Sulphate
Sodium Lauryl Sulphate
Ammonium Lauryl Sulphate
Linear Alkyl Benzene Sulfonate (LAS)
Alpha Olefin Sulfonate (AOS)
Sarcosinate
Sulphosuccinate
2.สารลดแรงตึงผิวประจุบวก (Cationic Surfactant)
สารในกลุ่มนี้เมื่อละลายน้ำแล้วส่วนหัวจะเป็นประจุบวก นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยใช้เคลือบผ้า เพื่อให้ความลื่น และป้องกันไฟฟ้าสถิต สารจำพวกนี้ไม่มีความสามารถในการทำความสะอาด และไม่มีฟอง แต่สามารถเกาะเส้นผม และพื้นผิวได้ดี ให้ความลื่นจึงนิยมนำมาใช้ในครีมนวดผม หรือปรับผ้านุ่ม ตัวอย่างเช่น
Dyhyquat AC
Rinse compound
Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB)
Polyquaternium 6, 7, 10, 16
Alkyltrimethyl ammoniumchloride
3.สารลดแรงตึงผิวไม่มีประจุ (Non-ionic Surfactant)
สารชนิดนี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะไม่แตกตัวจึงไม่มีประจุ คุณสมบัติของสารกลุ่มนี้จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ละลายน้ำได้ จนไม่ละลายน้ำ สารที่ไม่ละลายน้ำมักใช้เป็นตัวดับฟอง และ emulsifier ส่วนสารที่ละลายน้ำมักใช้เป็นสารทำความสะอาด   แต่เนื่องจากมีฟองน้อยจึงมักใช้คู่กับ Linear Alkyl Benzene Sulfonate (LAS) หรือ Anionic Surfactant อื่นๆ ตัวอย่างเช่น
Amine oxides
Alkyl ethoxylate
Alkyl polyglucoside
Alkyl diethanol,monoethanol, isopropanal amides
Alcohol alkylphenol ethoxylate
Cetyl stearyl alcohol 
4. สารลดแรงตึงผิวชนิดสองประจุ (Amphoteric Surfactant)
สารกลุ่มนี้มีทั้งประจุบวกและลบอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน เมื่อละลายน้ำจะแสดงประจุใดประจุหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยถ้าสภาพแวดล้อมเป็นกรดก็จะแสดงประจุบวก ถ้าสภาพแวดล้อมเป็นด่างก็จะแสดงประจุลบ  คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้ คือ
สามารถทนน้ำกระด้าง
อ่อนละมุนต่อผิว
สามารถเข้ากับ SLES, SLS ได้ดีเมื่อใช้ร่วมกันจะทำให้สามารถทำให้ข้นได้ง่ายขึ้น
ป้องกันไฟฟ้าสถิต และให้ความนุ่ม
การนำสารลดแรงตึงผิวไปใช้
1.อุตสาหกรรมสิ่งทอ ใช้ในขั้นตอนปั่นและทอเส้นใย
2.อุตสาหกรรมซักล้าง ใช้ผลิตสารซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ที่ใช้ในครัวเรือนหรือในอุตสาหกรรม
3.อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แชมพู ครีมอาบน้ำ, ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวในการผลิตครีม โลชั่น โรออน น้ำหอม ครีมแต่งผม ยาสีฟัน, ช่วยกระจายสีในลิปสติกและแมกอัพ
4.อุตสาหกรรมยา ใช้ลดแรงตึงผิวในการผลิตยาแคปซูล, ออย์มิ้น, ครีมทา และโลชั่น
5.อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ลดแรงตึงผิวในการผลิตเนยเทียม ,ไอศรีมและช่วยให้ขนมปังมีความกรอบอร่อยขึ้น
6.อุตสาหกรรมทำสีหรือน้ำยาเคลือบเงา ช่วยให้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
7.อุตสาหกรรมพลาสติก ทำพีวีซี, ฉนวนกันเสียง, ฉนวนกันความร้อน
8.ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ ทำให้เยื่อกระดาษอ่อนตัวและซับน้ำได้ดี และใช้ในขบวนการรีไซเคิลกระดาษเก่าโดยช่วยชะล้างน้ำหมึกเก่าออก
9.อุตสาหกรรมโลหะ ช่วยหล่อในขั้นตอนการม้วน การดัด การตัดโลหะ และป้องกันการเกิดสนิม
10.วงการก่อสร้าง ใช้ลดแรงตึงผิวในการผสมปูนเพื่อให้ปูนเข้ากับน้ำ, ช่วยให้วัสดุปูถนนเกาะพื้นผิวอย่างดี
11. วงการเกษตร ใช้ผสมในยาฆ่าแมลง เพื่อให้จับเกาะใบพืชได้ดี
12. วงการดับเพลิง ทำให้เกิดฟองในถังดับเพลิงและทำให้ยับยั้งไฟได้
สรุปความสามารถของสารลดแรงตึงผิวทั้ง 4 ชนิด จะเห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองดีที่สุด ส่วนสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบจะมีคุณสมบัติในการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มดีที่สุด สารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารลดแรงตึงผิว สามารถสอบถามได้ที่ 
ฝ่ายขายและการตลาด บจก.ไทยโพลีเคมิคอล 
36/1 หมู่ที่ 9 ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
โทร 034496284, 034854888, 0861762992, 0824504888, 0868850111
อีเมลล์แอดเดรส, polychemicals888 (at) gmail (dot) com


โซเดียมลอริลซัลเฟต, Sodium Lauryl Sulfate, โซเดียมลอเรตซัลเฟต, Sodium Laureth Sulfate, SLS, N70

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น